วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

  แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย  ตามแบบกรมพลศึกษา  

 กรมพลศึกษาได้ทำการวิจัยสมรรถภาพทางกายของนักเรียน  โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายซึ่ง  แยกตามกลุ่มอายุ  ดังนี้  ( 2 แบบทดสอบ)


1.   แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนอายุ  4 – 6  ปี  มีการทดสอบจำนวน  4  รายการ  ดังนี้
1.1  งอตัวข้างหน้า
1.2  ยืนเขย่งปลายเท้า
1.3  ยืนกระโดดไกล
1.4  วิ่ง  20  เมตร
2.   แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนอายุ  7 – 9  ปี  มีการทดสอบจำนวน  5  รายการ ดังนี้
2.1  งอตัวข้างหน้า
2.2  วิ่งเก็บของ
2.3  ลุก – นั่ง  30  วินาที
2.4  วิ่งเร็ว  50  เมตร
2.5  ยืนกระโดดไกล 

1.   แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียนอายุ  4 – 6  ปี  มีการทดสอบจำนวน  4  รายการ  
1.1  งอตัวข้างหน้า
1.2  ยืนเขย่งปลายเท้า 
1.3  ยืนกระโดดไกล 
1.4  วิ่ง  20  เมตร

1.งอตัวข้างหน้า
วัตถุประสงค์               วัดความอ่อนตัว
อุปกรณ์                       
1.  ม้าวัดความอ่อนตัว  
2.  เสื่อ  1  ผืน
วิธีการทดสอบ ให้ผู้รับการทดสอบนั่งเหยียดขาตรง     สอดเท้าเข้าใต้ไม้วัด โดยเท้าตั้งฉากกับพื้นและชิดกันฝ่าเท้าจรดแนบกับที่ยันเท้า   เหยียดแขนตรงขนานกับพื้นแล้วค่อย ๆ ก้มตัวไปข้างหน้า     ให้มืออยู่บนม้าวัดจนไม่สามารถก้มตัวได้ต่อไปให้ปลายมือเสมอกันและรักษาระยะทางไว้ได้นาน  2  วินาทีขึ้นไป   อ่านระยะจากจุด  "0"  ถึงปลายมือ(ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรงๆ)ดังภาพ

 
การบันทึก        บันทึกระยะเป็นเซนติเมตร     ถ้าเหยียดจนปลายมือเลยปลายเท้าบันทึกค่าเป็นบวก  ถ้าไม่ถึงปลายเท้าค่าเป็นลบ   ใช้ค่าที่ดีกว่าในการประลอง   2   ครั้ง

2.  ยืนเขย่งปลายเท้า 
วัตถุประสงค์   วัดการทรงตัว
อุปกรณ์                       
1. พื้นเรียบ
2. นาฬิกาจับเวลา   1   เรือน
เจ้าหน้าที่                     ผู้จับเวลา   1   คน,ผู้บันทึก  1  คน
วิธีการทดสอบ
    ให้ผู้รับการทดสอบยืนตรงเท้าชิด  ยกแขนทั้งสองเหยียดตรงยกไปข้างหน้าขนานกับพื้นคว่ำฝ่ามือลง  เขย่งเท้าทั้งสองขึ้นจากพื้นด้วยปลายเท้า  ยืนทรวตัวอยู่ในลักษณะให้นิ่งและนานที่สุด โดยไม่ให้มือและเท้าเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิม หรือส้นเท้าลดลงแตะพื้น แขนทั้งสองต้องเหยียดขนานกับพื้นตลอดเวลาที่จับเวลาทดสอบ  หากส้นเท้าขยับและลดลงให้หยุดจับเวลา ให้ประลอง 2 ครั้งเอาครั้งที่เวลาดีที่สุด

การบันทึก
1. จับเวลาเมื่อเริ่มเขย่งส้นเท้าทั้งสองขึ้นจากพื้น
2. หยุดจับเวลาเมื่อไม่สามารถทรงตัวได้นิ่ง
3. บันทึกเวลาเป็นวินาทีทศนิยมสองตำแหน่ง หรือนาทีหรือวินาที

3.  ยืนกระโดดไกล
วัตถุประสงค์   วัดความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขาและสะโพก
อุปกรณ์                       
1. แผ่นยางยืนกระโดดไกลและเบาะรอง
2. ไม้วัด
3. กระบะใส่ผงปูนขาว
เจ้าหน้าที่                     ผู้วัดระยะ   1   คน,ผู้บันทึก  1  คน,ผู้จัดท่า  1  คน
วิธีการทดสอบ ให้ผู้รับการทดสอบเหยียบผงปูนขาวด้วยส้นเท้า         แล้วยืนปลายเท้าทั้งสองชิดด้านหลังของเส้นเริ่มบนแผ่นยางหรือบนพื้นดินที่เรียบไม่ลื่น          เหวี่ยงแขนไปข้างหน้าอย่างแรงพร้อมกับกระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด ใช้ไม้วัดทาบตั้งฉากกับเส้นเริ่มและขนานกับขีดบอกระยะ    วัดจนถึงรอบส้นเท้า
ที่ใกล้เส้นเริ่มต้นมากที่สุด       อ่านระยะจากขีดบอกระยะ     กรณีผู้รับการทดสอบเสียหลักหงายหลัง         ก้นหรือมือแตะพื้นให้ประลองใหม่(ดังภาพ)
 
การบันทึก        บันทึกระยะทางเป็นเซนติเมตร           เอาระยะที่ไกลกว่า จากการประลอง  2  ครั้ง

4. วิ่ง  20  เมตร 
วัตถุประสงค์               วัดความเร็ว
อุปกรณ์                       
1. นาฬิกาจับเวลา   1   เรือน
2. ลู่วิ่ง   20   เมตร       มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
3. ธงปล่อยตัวสีแดง
เจ้าหน้าที่                     ผู้ปล่อยตัว   1   คน, ผู้จับเวลา   1   คน, ผู้บันทึก   1   คน
วิธีการทดสอบเมื่อผู้ปล่อยให้สัญญาณ"เข้าที่"ให้ผู้รับการทดสอบยืนให้ปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่มก้มตัวเล็กน้อยในท่าเตรียมวิ่ง(ไม่ต้องย่อตัวเข้าที่เหมือนการแข่งขันวิ่งระยะสั้น)เมื่อได้ยินสัญญาณปล่อยตัว          ให้ออกวิ่งเต็มที่   จนผ่านเส้นชัย

การบันทึก                    ผู้จับเวลา  1  คนบันทึกเวลาให้ละเอียดถึงทศนิยมอันดับแรกของวินาที

เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพนักเรียนไทย  ของกรมพลศึกษา











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น